วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10


ศาสนาสำคัญในประเทศไทย


ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่เก่าแก่และเชื่อว่าเกิดก่อนพุทธกาลไม่น้อยกว่า ๕, 000 ปี ตลอดจนเป็นต้นตำหรับของศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม และอื่น ๆ การเกิดของศาสนาพราหมณ์แตกต่างกับศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลามที่เกิดขึ้นเพราะมีคน ๆ หนึ่งค้นพบความสำเร็จในหลักธรรม อ่านเพิ่ม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา


ความหมายของศาสนา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้คำนิยามของคำว่า ศาสนา ไว้ว่า ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือ แสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลก เป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆศาสนาจึงมีความหมายในลักษณะต่าง ๆ อ่านเพิ่ม 

ตอนที่ 4 ศาสนากับสังคมไทย


ไสยศาสตร์และศาสนา
พระยาอนุมานราชธน นักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้รู้เรื่องราวของวัฒนธรรมประเพณีไทยดีที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทย ได้สรุปเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อของคนไทยไว้หลายแห่งว่าเป็นการผสมผสานระหว่างความเชื่อดั้งเดิมคือเรื่องผี คติความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์และที่สุด

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ 


1. หน้าที่ชาวพุทธ
ชาวพุทธ มีหน้าที่มากมายหลายประการที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติ เพื่อที่จะรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อทำนุบำรุงอุปถัมภ์ สืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป
          1.1 หน้าที่และบทบาทของพระภิกษุสามเณร
          พระนักเทศน์ ได้แก่ พระภิกษุที่ปฏิบัติหน้าที่สอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยการแสดงธรรม (เทศน์) อ่านเพิ่ม


หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง


แม้พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปเป็นเวลากว่า 2,500 ปีแล้ว แต่พระคุณของพระองค์ที่มีต่อชาวโลกก็ยังคงปรากฏอยู่ ชาวพุทธจึงควรระลึกถึงและประพฤติปฏิบัติตามพระคุณของพระองค์ เพื่อให้เกิดผลดีแก่ตนและสังคมส่วนรวม อ่านเพิ่ม

ตอนที่ 3 พระสงฆ์


พระสงฆ์ หมายถึง สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วเลื่อมใส สละเรือนออกบวชถือวัตร ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่พระบรมศาสดาสั่งสอนและกำหนดไว้ทั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

การบริหารจิตและเจริญปัญญา


การสวดมนต์แปลและ แผ่เมตตา

การไหว้พระสวดมนต์เป็นการแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัยที่เราต้องปฏิบัติให้พร้อมทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อให้เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา ผู้ที่ปฏิบัติเป็นประจำจะเกิดสติสัมปชัญญะ มีจิตเป็นสมาธิ ประณีตและมีคุณธรรม ทำให้ความเห็นถูกต้องตามหลักของพระพุทธศาสนา อ่านเพิ่ม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต


พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก 
ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันปิฎก
          พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน อ่านเพิ่ม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา


หลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนา
    1.ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ คือ องค์ประกอบของชีวิตมนุษย์ที่ประกอบด้วยรูปและนาม
      รูป คือ ส่วนที่เป็นร่างกาย ประกอบด้วยธาตุ 4 ได้แก่
       - ธาตุดิน (ส่วนของร่างกายที่เป็นของแข็ง เช่น เนื้อ กระดูก ผม) อ่านเพิ่ม

ตอนที่ 2 พระธรรม


พระธรรม หมายถึงธรรมะซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นแต่เริ่มสืบทอดกันด้วยวิธีท่องจำแบบปากต่อปาก เรียกว่า "มุขปาฐะ" สมัยต่อมาจึงได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร คัมภีร์ที่บันทึกพระธรรมของพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่า พระไตรปิฎก และยังมีคัมภีร์อื่นๆ ที่แต่งภายหลังเพื่อขยายความอีก ได้แก่ อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ตามลำดับ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี


1.1 หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
1) วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา คือ การบูชาในเดือนมาฆะ คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือการประชุมสงฆ์โดยมิได้นัดหมายกันที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ประกอบด้วยองค์ 4 คือ 1. เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ 2. พระภิกษุ 1,250 องค์ มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย 3. ภิกษุเหล่านั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ 4. ได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้า เป็นเอหิภิกขุทั้งสิ้น อ่านเพิ่ม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

พุทธประวัติและชาดก


พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงสอนใครแต่ละครั้ง พระองค์ก็ทรงอาศัยองค์ประกอบหลายๆอย่าง ในการสอนบุคคลระดับต่างๆ ที่มีพื้นฐานความรู้ สติปัญญาที่แตกต่างกัน พระองค์ได้ประยุกต์คำสอนแต่ละลักษณะให้มีความเหมาะสม เป็นการสอนที่แสดงถึงพุทธลีลาของพระองค์ อ่านเพิ่ม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา



พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล
 พระพุทธศาสนามีหลักการและทฤษฎีที่เป็นสากล คือ หลักอริยสัจ 4 หมายถึง หลักความจริงอันประเสริฐของชีวิตมี 4 ประการคือ

 1. ทุกข์ (ความไม่สบายกายและใจ) สอนว่า  ชีวิต และโลก นี้มีปัญหาอะไรบ้าง อ่านเพิ่ม

ตอนที่ 1 พระพุทธ


พระพุทธ หมายถึง พระผู้ตรัสรู้ คือรู้อย่างจำรัส หรือแจ่มแจ้ง